เบียร์คราฟ เปิดโลกใหม่กับการดื่มเบียร์ที่หลากหลายมิติ

เบียร์คราฟ ศิลปะวัฒนะธรรมและเสน่ห์ของคราฟเบียร์

เบียร์คราฟ หรือ Craft Beer คือ เบียร์ที่มีกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ และ ยังมีความหลากหลายสไตล์ ด้วยวิธีการผลิตที่มุ่งเน้นไปที่คุณภาพและความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ การผลิตเบียร์คราฟ ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ถูกผลิตในปริมาณจำนวนที่มากแต่จะมุ่งในในรสชาติแปลกใหม่ สร้างสรรค์และส่งเสริมความเชื่อมต่อกับชุมชนวัฒนธรรมท้องถิ่น ในส่วนของกระบวนการผลิตมักจะถูกผลิตโรงเบียร์ขนาดเล็กและมีความอิสระ โดยใช้วัตถุหลักๆ อาทิเช่น ผลไม้,สมุนไพร,และวัตถุดิบพื้นเมือง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะผลิตในปริมาณที่น้อยแต่จะออกมาในรูปแบบสร้างสรรค์มีสูตรเฉพาะที่สะท้อนถึงตัวตนและความสามารถของผู้ผลิต เบียร์คราฟถือเป็นส่วนหนึ่งของวงการเบียร์ทั่วโลก ที่ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสสำรวจและสัมผัสกับรสชาติและสไตล์ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระไม่จำกัด ยังส่งเสริมวัฒนธรรมการดื่มที่รับรู้และมีส่วนร่วมในชุมชนและวัฒนธรรมในท้องถิ่น และในระดับโลก

เบียร์คราฟเอกลักษณ์และความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น

เบียร์คราฟ

คราฟเบียร์ ที่ผลิตโดยโรงเบียร์ขนาดเล็ก หรือ โรงเบียร์ ที่มีความอิสระและมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ,ความหลากหลาย,และความสร้างสรรค์ มันไม่ได้เน้นไปที่ปริมาณการผลิตเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์รสชาติและสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร โดยการใช้วัตถุดิบและวิธีการผลิตพื้นเมือง เบียร์คราฟมักจะถูกผลิตในจำนวนที่น้อยลง แต่จะมีความหลากหลายในสไตล์และรสชาติ มักจะมีความเชื่อมต่อกับชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น นิยามนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั้นในการสร้างสรรค์และการพัฒนาตลอดเวลา ทำให้เบียร์คราฟกลายเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญของวงการเบียร์ในยุคปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของความรักและความเข้าใจระหว่างวิทยาศาสตร์,ศิลปะ,ชุมชนและ วัฒนธรรมท้องถิ่น

ความแตกต่างระหว่างเบียร์คราฟและเบียร์อุตสาหกรรม

การที่เราจะสามารถเข้าใจความแตกต่างระหว่างเบียร์คราฟและ เบียร์อุตสาหกรรม ได้ เราต้องมองไปที่ขนาดของการผลิต,รูปแบบการผลิต,รสชาติ และ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

  • เบียร์อุตสาหกรรม เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยบริษัทขนาดใหญ่และมีการจำหน่ายไปทั่วโลก มักจะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแต่ถูกที่สุด เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและสร้างปริมาณ รสชาติจึงมีแนวโน้มที่จะไม่หลากหลาย
  • เบียร์คราฟ เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยโรงเบียร์ขนาดเล็กที่อิสระ ที่มุ่งเน้นไปที่คุณภาพ และความหลากหลายของรสชาติ โดยการใช้วัตถุดิบไม่เป็นทางการ และ มักจะความเชื่อมต่อกับชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ความแตกต่างระหว่างเบียร์คราฟและเบียร์อุตสาหกรรม

  • การผลิต บริษัทเบียร์อุตสาหกรรมมักจะผลิตเบียร์ในปริมาณที่ใหญ่ ในขณะที่โรงเบียร์คราฟทำการผลิตในขนาดที่เล็ก มุ่งเน้นไปที่คุณภาพและความหลากหลาย
  • รสชาติ เบียร์คราฟมีรสชาติที่หลากหลาย และ แปลกใหม่ ในขณะที่เบียร์อุตสาหกรรมมีรสชาติที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง
  • วัตถุดิบ โรงเบียร์คราฟมักจะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและหลากหลาย ซึ่งอาจจะรวมถึงวัตถุดิบพื้นเมือง หรือ ไม่ปรกติ ในขณะที่บริษัทเบียร์อุตสาหกรรมมักจะใช้วัตถุดิบที่ถูกและมีจำนวนมาก
  • ความเชื่อมต่อกับชุมชน โรงเบียร์คราฟมักจะมีความเชื่อมต่อกับชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น ในขณะที่บริษัทเบียร์อุตสาหกรรมมีการจำหน่ายทั่วโลก

ส่วนผสมเบียร์คราฟ

ส่วนผสมของเบียร์คราฟ สามารถแยกแตกต่างกันได้ตามสไตล์และสูตรที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละโรงเบียร์ แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนผสมหลัก 4 ตัวดังต่อไปนี้

  1.  มอลต์ (Malt) มอลต์เป็นธัญพืชที่ได้รับการแช่และอบแห้ง เป็นตัวกำหนดสีและรสชาติของเบียร์ มีหลากหลายประเภทของมอลต์ที่สามารถใช้ได้ เช่น มอลต์บาร์เล่,มอลต์ไรย์ หรือ มอลต์ข้าวโพด
  2. ฮอป (Hop) ฮอปเป็นต้นไม้ที่ใบของมันจะให้กลิ่นและรสขม เป็นตัวเติมเต็มความสมดุลย?ของรสหวานจากมอลต์ มีหลากหลายสายพันธ์ที่มีรสชาติและกลิ่นที่มีความแตกต่าง
  3. น้ำ (Water) ส่วนใหญ่ของเบียร์ประมาณ 90-95% เป็นน้ำ คุณภาพของน้ำมีผลต่อรสชาติของเบียร์รวมถึงความแข็งแรง ความนุ่ม ความกรดหรือด่าง
  4. ยีสต์ (Yeast) ยีสต์เป็นตัวเฉพาะของการหมัก ทำให้น้ำตาลเปลี่ยนเป็นแอลกฮอล์และก๊าซคาร์ไดออกไซต์ และ ยังสร้างรสชาติและกลิ่นเฉพาะ

และนอกจากนี้เบียร์คราฟยังสามารถมีส่วนผสมเพิ่มเติม อาทิเช่น ผลไม้,สมุนไพร,เครื่องเทศ หรือ วัตถุดิบพื้นเมืองอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความหลากหลายและความเป็น เอกลักษณ์ของคราฟเบียร์ ได้

กระบวนการผลิต

เบียร์คราฟ

ในส่วนของ กระบวนการผลิตเบียร์คราฟ ซึ่งจะมีกระบวนการที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน จะมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ ความหลากหลายของรสชาติและกลิ่นเป็นหลัก ในกระบวนการผลิตหลักๆจะมีขั้นตอน ดังนี้

  1. การเตรียมมอลต์ หรือการบ่ม (Mashing) คือ ซึ่งจะนำมอลต์บดหยาบมาต้มในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส แล้วนำไปต้มในเครื่องบดขนาดใหญ่ ผสมจนได้ลักษณะที่เรียกว่า Wort
  2. การต้ม (Boiling) คือ การนำมอลต์ที่ได้จากขั้นตอนแรก (Wort) มาต้มให้เดือดในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แล้วใส่ Hops เพื่อให้ตัดรสและเพิ่มกลิ่น (ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความต้องการของแต่ละคน)
  3. การหมัก (Ferment) คือ การนำเบียร์ที่มาจากการต้มหมักด้วยยีสต์ ในขณะที่ควบคุมอุณหภูมิและเวลาการหมัก เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ
  4. การตกตะกอน (Whrilpool) คือ การตกตะกอนวนน้ำที่ต้มจะทำให้เกิดการตกตะกอน เป็นการลดอุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับขั้นตอนในการหมัก 
  5. การบรรจุ (Packaging) คิอ การกรองเบียร์ หรือ บรรจุเบียรลงในขวดหรือกระป๋องตามด้วยการซีล เพื่อรักษาความสดและป้องกันความชื้น (ลักษณะบรรจุภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต)

แบรนด์และสินค้าเบียร์คราฟในไทย

เบียร์คราฟ

นาทีนี้คงนี้หนีไม่พ้น คราฟเบียร์ หรือ เบียร์งานฝีมือ (โฮมเมด) ที่กำลังเป็นที่ยอดนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย มีความเป็นเอกลักษณ์ในเริื่องของรสชาติที่จะมีความเป็นเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ เบียร์คราฟในไทย กลายเป็นที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เสน่ห์ที่ทำให้หลายๆคนสนใจคงเป็นเรื่องของวัตถุดิบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัตุดิบที่นำจะมาใช่มักจะเป็นผลไม้ท้องถิ่น หรือจะเป็นสมุนไพรพื้นเมืองที่หลายๆคนคงจะรู้จักดี  รวมถึงการให้รสชาติที่มีความแปลกใหม่ เราจะพูดถึง 10 เบียร์คราฟยอดนิยมของคนไทยจะมีอะไรบ้าง

10 แบรนด์ยอดนิยมในไทย

  1. เบียร์คราฟ เทพพนม (Devanom) 

เป็นคราฟเบียร์ที่ให้ความรู้สึกถึงความเก่าและเก๋า แถมยังได้รางวัล Best IPA จากเวที Beer Camp ซึ่งคอเบียร์หลายท่านต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ในส่วนของรสชาติคราฟเบียร์ตัวนี้จะมีความหวานจากผลไม้และมีกลิ่นที่หอมหวานของดอกไม้จางๆ มีรสเปรี้ยวอมหวานที่มีการตัดรสขมด้วยยีสต์ เป็นอีกยีห้อที่ไม่ควรพลาด

  1. เบียร์คราฟ ชาละวัน (Chalawan)

คราฟเบียร์ยีห้อนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเบียรที่เคยได้รับรางวัล อีกทั้งยังมีการนำสูตรคราฟเบียร์ไปผลิตที่ออสเตรเลียอีกด้วย หลังจากนั้นก็นำเข้ามาขายในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในส่วนของรสชาติจะให้รสออกหอมหวาน มีกลิ่นผลไม้ลิ้นจี่ติดปลายลิ้นนิดหน่อย สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า

  1. เบียร์คราฟ ผีบอก (Pheebok) 

เป็นอีกยีห้อหนึ่งที่มีความโดดเด่นตั้งแต่การใช้โลโก้รูปผี จะให้ความรู้สึกหลอนๆที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และให้รสชาติไปในทางที่หอมปนรสขมจางๆ ตามคอนเซปความคิดสร้างสรรค์ของผู้ผลิต และยังหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป

  1. เบียร์คราฟ เชียงใหม่เบียร์ (Chiang Mai Beer) 

ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าต้นกำเนิดของเบียร์คราฟยีห้อนี้คงหนีไม่พ้นจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคราฟเบียร์ยีห้อนี้ได้มีกระบวนการผลิตอยู่ที่ประเทศพื้นบ้านอย่างประเทศลาว มีการนำเข้ามาวางจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในส่วนของรสชาติจะมี2รสให้เลือก คือ Chiang Mai ที่เหมาะสำหรับผู้หญิงหรือคนที่ไม่ชอบรสขม และ IPA รถแดง จะมีกลิ่นซิตรัสเบาๆนั้นเอง

  1. เบียร์คราฟ สโตนเฮด (Stone Head)

เป็นคราฟเบียร์อีกหนึ่งยีห้อที่มีความน่าสนใจ ซึ่งกระบวนการผลิตอยู่ประเทศกัมพูชา และ มีการนำเข้ามาวางขายอย่างถูกกฎหมาย ในส่วนของรสชาติต้องบอกเลยว่ามีความหลากหลายมาก แต่รสชาติที่คอเบียร์ชื่นชอบมากที่สุดจะเป็น Seven Days Witbier ที่มีเอกลักษณ์ในเรื่องรสนุ่มนวล และ มีกลิ่นหอม

  1. เบียร์คราฟ มหานคร (Mahanakorn)

เป็นยีห้อที่มีการรู้จักเป็นอย่างมากสำหรับ มหานคร เนื่องจากมีการวางขายติดตลาดมาอยู่พักใหญ่ ซึ่งมีการวางขายตามร้านซื้อขายดังๆอยู่ร้านและห้างสรรพสินค้า วัตถุที่เลือกใช้ในการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นของพื้นบ้าน อาทิเช่น ข้าวหอมมะลิ และ ขนมเปียกปูน จึงทำให้รสชาติมีความหอมหวานและมีความสดชื่นเป็นอย่างมาก

  1. เบียร์คราฟ อุดมสุข (Udomsuk)

ต้องบอกเลยว่าคราฟเบียร์ยีห้อนี้ ถือเป็นหนึ่งยีห้อที่มีการวางจำหน่ายขายเป็นเจ้า ซึ่งจะความแรร์และมีความหายากมาก เนื่องจากมักจะขายไปตามงานอีเวนท์ และ ในจำนวนที่มีความจำกัด ในส่วนของรสชาติจะออกไปทางขมๆ 

  1. เบียร์คราฟ โกลเด้นคอยน์ (Golden Coin)

ยี่ห้อก็ถือเป็นตำนานเบียร์คราฟอีกเจ้า เพราะเจ้าแรกๆที่มีการบุกเบิกในทำการเบียรคราฟยุคแรกๆ ที่สำคัญจะมีขายแค่เฉพาะบาร์คราฟเบียร์บางร้านเท่านั้น ในส่วนของรสชาติจะออกรสขมจางๆติดปลายลิ้น

  1. เบียร์คราฟ แซนด์พอร์ต (Sandport)

แซนด์พอร์ตก็ถือว่าเป็นคราฟเบียรอีกหนึ่งยี่ห้อ ที่มีการหาค่อนข้างยาก แต่สำหรับคอเบียร์ที่หาซื้อคราฟเบียร์ยี่ห้อนี้ได้ต่างก็ชื่นชอบ โดยเฉพาะตัว Too Much Coffee ที่จะออกกลิ่นเหมือนกาแฟดำ

  1. เบียร์คราฟ ทริปเปิลเพิร์ล (Triple Pearl)

จุดเด่นของคราฟเบียร์ นี้คงจะเป็นในเรื่องของวัตถุดิบจากข้าวสาลี (Wheat Beer) ในช่วงเทศกาลหน้าร้อนต้องดื่มคราฟเบียร์ตัวนี้จะให้ความสดชื่นมาก และยังได้รางวัลจากเวที Beer Camp อีกด้วย

โรงผลิตเบียร์คราฟท้องถิ่นในไทย

โรงผลิตเบียร์คราฟท้องถิ่น ในปัจจุบันมีการเจริญเติบโต ทั้งโรงเบียร์ขนาดใหญ่และเล็ก เราจะมาพูดถึงโรงเบียร์ที่มีความน่าสนใจ มีอะไรบ้าง

  • Chit Beer มีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่เกาะกระทุ่ม จังหวัด กรุงเทพ เป็นอีกหนึ่งโรงเบียร์แรกๆในประเทศไทย
  • Sandport Beer เป็นโรงเบียร์คราฟในจังหวัดกรุงเทพ ที่มีสไตล์หลากหลายและมีคุณภาพสูง
  • Stone Head ตั้งอยู่ที่กาญจนบุรี มีการผลิตที่ความหลากหลายและมีความสนใจเป็นอย่างมาก
  • Happy New Beer เป็นโรงเบียร์คราฟในไทยที่มีการผลิตคิดค้นสูตรในเรื่องของรสชาติเบียร์ที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก
  • Mitr Craft Beer โรงเบียร์เจ้านี้จะเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • Full Moon Brew Work มีโรงงานตั้งอยู่ภูเก็ต เป็นคราฟเบียร์ที่มีสไตล์สุดพิเศษที่จะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
  • Lamzing Craft Beer เป็นโรงเบียร์ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และยังเน้นการผลิตเบียร์จากวัตถุดิบท้องถิ่น

ตลาดและกฎหมายเบียร์คราฟในประเทศไทย

ตลาดเบียร์คราฟในไทย มีโอกาสและศักยภาพในการเจริญเติบโต แต่ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดและความท้าทายในด้านกฏหมายและการค้า ทั้งนี้ เพื่อต้องการทำความเข้าใจ การปรับตัวต่อกฎหมายตลาดในประเทศไทย และอาจจะต้องมีการสนับสนุนหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และการแข่งขันที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมนี้

กฎหมายและข้อบังคับ

กฎหมายและข้อบังคับในการผลิตและจำหน่ายเบียร์คราฟในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะที่ต้องได้รับความสนใจเพื่อที่จะเข้าใจในการปฏิบัติตามหลัก ซึ่งเราสามารถจำแนก 3 หลัก มีดังนี้

หลักการผลิต

  1. ใบอนุญาตผลิต ต้องขอใบอนุญาตจากสำนักงานขายแอลกฮอล์
  2. ข้อจำกัดขนาด ในการผลิตเบียร์ต้องมีขนาดขั้นต่ำของโรงงานและยังมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณผลิตต่อปีอีกด้วย
  3. มาตรฐานคุณภาพ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสุขอนามัยและคุณภาพตามที่ได้กำหนด

หลักการจำหน่ายและการตลาด

  1. ใบอนุญาตจำหน่าย การจำหน่ายเบียร์คราฟจะต้องมีใบอนุญาตและต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องด้วย
  2. ข้อจำกัดโฆษณา มีข้อจำกัดการโฆษณาและส่งเสริมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแอลกฮอล์
  3. การป้ายกำกับ การป้ายกำกับบนบรรจุภัณฑ์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและมีข้อความเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ

หลักภาษีและอากร

  1. ภาษีขาย เบียร์คราฟถูกคำนวณภาษีขายตามอัตราแอลกฮอล์และปริมาณ
  2. อากรนำเข้า หากนำเข้าวัตถุดิบหรือเบียร์จากต่างประเทศ อาจต้องจ่ายอากรนำเข้า

สาระสำคัญของการทำ ธุรกิจเบียร์คราฟในประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  ข้อบังคับที่ซับซ้อนที่เฉพาะเจาะจง อาจจะต้องมีการปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมายที่เข้าใจในกฎหมาย เพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการของตั้งแต่กระบวนการเริ่มผลิตจำหน่ายตลาดเบียร์คราฟในประเทศไทย

ความท้าทายและโอกาสในตลาดไทย

ตลาดเบียร์คราฟ ในประเทศไทยมีทั้งความท้าทายและโอกาส เพื่อประสบความสำเร็จในการตลาดนี้ ผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจในกฎหมาย ความต้องการของลูกค้า และมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแข่งขันและตอบสนองความต้องการของตลาดและลูกค้า เบียร์คราฟสามาถเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเบียร์ที่แข็งแกร่งและหลากหลายในประเทศไทย ถ้าจัดการด้วยแนวทางที่ถูกต้องนั้นเอง

คู่มือการซื้อและสัมผัสเบียร์

การแนะนำให้ท่านได้รู้จักเคล็ดลับในการเลือกเบียร์คราฟที่มีคุณภาพ การอ่านและเข้าใจแบบฉลากบนขวดเบียร์ และวิธีการสัมผัสเบียร์เพื่อรับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการดมกลิ่น การชิมรส หรือ การจับคู่กับอาหาร เพื่อให้การดื่มเบียร์คราฟของท่านเป็นเรื่องที่มีความสุขและยังได้ประสบการณ์ที่แท้จริง

ที่ซื้อเบียร์คราฟในประเทศไทย

ตัวเลือกที่มีให้สำหรับผู้ที่สนใจและต้อง การสัมผัสเบียร์คราฟ ในประเทศไทย ทั้งนี้ ต้องสำรวจหรือตรวจสอบแหล่งซื้อที่ใช่สำหรับท่าน วันนี้เราจะมาแนะนำที่ซื้อเบียร์คราฟในประเทศไทย มีอะไรบ้างดังนี้

  1. โรงเบียร์และบาร์เฉพาะที่เน้นเบียร์คราฟ 
  2. ร้านขายเหล้าและเบียร์ ร้านค้าที่มีการสต็อกเบียร์คราฟทั้งแบรนด์จากต่างประเทศและแบรนด์ท้องถื่นในประเทศ
  3. งานแฟร์เบียร์ เหมือนกับงานแฟร์ไวน์ และในประเทศไทยก็ยังมีงานแฟร์เบียร์ที่โชว์เคสเบียร์คราฟจากโรงเบียร์ต่างๆ
  4. ร้านค้าออนไลน์ บางร้านช็อปในออนไลน์มีการขายเบียร์คราฟและนำส่งถึงบ้าน
  5. ร้านอาหารและคาเฟ่ บางร้านอาหารและคาเฟ่เริ่มนำเบียร์คราฟเอาเข้ามาวางจำหน่าย
  6. ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ บางที่อาจมีเบียร์คราฟมาจากแบรนด์ที่รู้จักกันในรูปแบบขวดหรือกระป๋อง

การจัดเก็บ

การจัดเก็บเบียร์คราฟ ถือเป็นเรื่องสำคัญเพื่อรักษารสชาติและคุณภาพของเบียร์ให้คงที่ การจัดเก็บควรทำในสถานที่ที่มัอุณหภูมิคงที่ประมาณ 4-7 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงแสงโดยเฉพาะแสงแดด และสำหรับเบียร์ในรูปแบบขวดควรตั้งขวดให้ตรง เพื่อป้องกันการสัมผัสกับฝาขวดเกินไป นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ที่มีความชื้นสูง ตรวจสอบวันหมดอายุเสมอเพื่อความปลอดภัยและความอร่อยที่ดีที่สุด

สรุป

อนาคตของเบียร์คราฟ ในประเทศไทยมีโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งความสนใจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคไทยที่เริ่มหันมาสนใจในรสชาติและคุณภาพของเบียร์มากขึ้น เบียร์คราฟนั้นไม่เพียงแต่นำเสนอรสชาติที่หลากหลายและไม่ซ้ำธรรมดา แต่ยังเป็นการสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความภาคภูมิใจในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ด้วยกฎหมายและนโยบายที่มีการปรับปรุงและเปิดโอกาสมากขึ้น อนาคตของเบียร์คราฟในประเทศไทยอาจจะก้าวไปสู่การเป็นตลาดที่มีความแข็งแกร่งและยั่งยืนในภาคภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้